เมื่อวันที่ 10 ส.ค. นายเอกรัช ศรีอาระยันพงษ์ ผู้อำนวยการศูนย์ประชาสัมพันธ์ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า รฟท. ได้เปิดให้บริการขบวนรถด่วนพิเศษ สายใต้ เส้นทาง กรุงเทพ-ปาดังเบซาร์-กรุงเทพ จำนวน 2 ขบวน เริ่มให้บริการตั้งแต่วันที่ 11 ส.ค.65 เป็นต้นไป เพื่ออำนวยความสะดวกรองรับการเดินทางของประชาชน และนักท่องเที่ยว ที่จะเดินทางเชื่อมต่อระหว่างไทยและมาเลเซีย รวมทั้งสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลในด้านส่งเสริมการท่องเที่ยว และช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ ทั้งนี้หลังจากที่ ศบค.ได้ประกาศผ่อนคลายข้อปฏิบัติมาตรการควบคุมโควิด-19 ทำให้มีนักท่องเที่ยวจากมาเลเซียเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวภายในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น

นายเอกรัช กล่าวต่อว่า สำหรับขบวนรถสายใต้ เส้นทางกรุงเทพ-ปาดังเบซาร์-กรุงเทพ จำนวน 2 ขบวน ประกอบด้วย 1. ขบวนรถด่วนพิเศษที่ 45 กรุงเทพ-ปาดังเบซาร์ ออกจากสถานีกรุงเทพ เวลา 15.10 น. ถึงปาดังเบซาร์ (ฝั่งมาเลเซีย) เวลา 09.50 น. (ตามเวลาประเทศไทย) และ 2คำพูดจาก เว็บสล็อตทดลองเล่น. ขบวนรถด่วนพิเศษที่ 46 ปาดังเบซาร์-กรุงเทพ ออกจากสถานีปาดังเบซาร์ (ฝั่งมาเลเซีย) เวลา 17.06 น. (ตามเวลาประเทศไทย) ถึงกรุงเทพ เวลา 12.45 น.

นายเอกรัช กล่าวอีกว่า อย่างไรก็ตามเมื่อวันที่ 15 ก.ค. ที่ผ่านมา รฟท. ได้เปิดเดินขบวนรถพิเศษจากสถานีชุมทางหาดใหญ่-ปาดังเบซาร์-ชุมทางหาดใหญ่ จำนวน 4 ขบวนด้วย ได้แก่ 1.ขบวนรถพิเศษโดยสารที่ 947 ชุมทางหาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ เวลาออก 07.30 น. เวลาถึง 08.25 น. (ตามเวลาประเทศไทย) 2.ขบวนรถพิเศษโดยสารที่ 948 ปาดังเบซาร์-ชุมทางหาดใหญ่ เวลาออก 07.30 น. (ตามเวลาประเทศไทย) เวลาถึง 08.25 น.คำพูดจาก รวมสล็อตทดลองเล่น

3.ขบวนรถพิเศษโดยสารที่ 949 ชุมทางหาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ (ตามเวลาประเทศไทย) เวลาออก 07.30 น. เวลาถึง 08.25 น. และ 4.ขบวนรถพิเศษโดยสารที่ 950 ปาดังเบซาร์-ชุมทางหาดใหญ่ เวลาออก 07.30 น. (ตามเวลาประเทศไทย) เวลาถึง 08.25 น. ทั้งนี้เมื่อเปิดเดินขบวนดังกล่าว ส่งผลให้ รฟท. จะมีขบวนรถให้บริการรวม 200 ขบวนต่อวัน แบ่งเป็น ขบวนรถเชิงพาณิชย์ 56 ขบวน และขบวนรถเชิงสังคม 144 ขบวน แบ่งตามเส้นทางเป็น สายเหนือ 36 ขบวน สายตะวันออกเฉียงเหนือ 46 ขบวน สายใต้ 52 ขบวน สายตะวันออก 24 ขบวน สายมหาชัย 34 ขบวน และสายแม่กลอง 8 ขบวน โดย รฟท. ยังมีแผนทยอยปรับเพิ่มเดินรถให้สอดรับกับความต้องการเดินทางของประชาชนที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง พร้อมกับให้ฝ่ายการช่างกล เร่งปรับปรุงหัวรถจักร และตู้โดยสาร เพื่อนำมาเปิดให้บริการประชาชนได้อย่างเพียงพอ

นายเอกรัช กล่าวด้วยว่า แม้ปัจจุบันสถานการณ์ผู้ติดเชื้อโควิดในประเทศจะลดลง แต่ รฟท. ยังให้ความสำคัญต่อมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ตามนโยบายของกระทรวงคมนาคม และกระทรวงสาธารณสุขควบคู่กัน โดยได้กำชับให้ทำความสะอาด ฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อภายในขบวนรถ อาคารสถานี ชานชาลา ที่พักผู้โดยสาร ห้องสุขา และพื้นที่โดยรอบบริเวณสถานี การให้บริการเจลแอลกอฮอล์ ให้เจ้าหน้าที่สวมหน้ากากอนามัยตลอดการปฏิบัติหน้าที่ กำหนดจุดคัดกรองวัดไข้ผู้โดยสารก่อนเข้าในพื้นที่สถานี และตั้งจุดบริการแอลกอฮอล์ล้างมือ รวมทั้งขอความร่วมมือให้ผู้โดยสารทุกคนสวมหน้ากากอนามัยตลอดการเดินทาง เพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่เชื้อ หรือรับเชื้อโควิด-19.